Logo of NDI

การพัฒนาสู่ประเทศใช้ยาอย่างสมเหตุผล

Thailand moving towards RDU country

NDI image

สำหรับประเทศไทย ประเทศใช้ยาอย่างสมเหตุผล หรือเรียกว่า “Rational Drug Use country” (RDU country) นี้ มีเป้าหมายให้การใช้ยาอย่างสมเหตุผลเป็นบรรทัดฐานของสังคมไทย เป็นสิทธิพื้นฐานของคนไทย และเป็นมาตรฐานด้านคุณภาพบริการสุขภาพ เพื่อให้คนไทยมีคุณภาพ ชีวิตที่ดีจากการมีสุขภาพดีและประเทศมีระบบสุขภาพที่มั่นคงและยั่งยืน ยุทธศาสตร์การพัฒนาสู่ประเทศใช้ยาอย่างสมเหตุผล ประกอบด้วย 6 กลยุทธ์ได้แก่


  1. พัฒนา ระบบกลไกกำกับดูแลด้านยา เพื่อการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
  2. พัฒนาระบบบริการสุขภาพทั้งรัฐและ เอกชนทุกระดับ รวมทั้งบริการสุขภาพของประชากรเฉพาะกลุ่ม (เช่น พระสงฆ์ลูกจ้างในโรงงาน ผู้ถูก คุมขังในทัณฑสถาน) ให้มีการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
  3. พัฒนาการผลิตและพัฒนากำลังคนเพื่อการใช้ยา อย่างสมเหตุผลของวิชาชีพด้านสุขภาพ
  4. ออกแบบและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนเพื่อการใช้ยาอย่าง สมเหตุผล ทั้งในเขตเมืองและเขตชนบท รวมพื้นที่ชายแดน
  5. บูรณาการการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในการ พัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ ทั้งระบบการศึกษา และกลไกการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ ทั้งระดับ องค์กรและชุมชน และ
  6. พัฒนากลไกบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ เพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ยุทธศาสตร์ดังกล่าวสอดคล้องตามเป้าหมายของแผนแม่บทการเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี ของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ทั้งนี้แต่ละยุทธศาสตร์การพัฒนาสู่ประเทศใช้ยาอย่างสมเหตุผล มีคณะกรรมการหรือคณะทำงานฯที่รับผิดชอบขับเคลื่อนให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ โดยมีสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นหน่วยงานสำคัญที่จะเชื่อมโยงประสานกับทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติและคณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล สำหรับแนวปฏิบัติสู่ประเทศใช้ยาอย่างสมเหตุผลโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งชุมชน (community) ในที่นี้หมายถึงพื้นที่ระดับอำเภอ(หรือเขตในกรุงเทพมหานคร) ซึ่งประเทศไทยมีทั้งหมด 878 อำ เภอ จะเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาสู่ประเทศใช้ยาอย่างสมเหตุผล เพื่อให้ประชาชนทุกอำเภอ มีความปลอดภัยจากการใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ มีความรอบรู้ในการใช้ยา และสามารถดูแลสุขภาพ ตนเองเบื้องต้นเมื่อเจ็บป่วย ทั้งที่ไม่ใช้ยาหรือมีการใช้ยาเท่าที่จำเป็น โดย
  1. เป็นความร่วมมือของหน่วยงานทุกภาคส่วน ทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และท้องถิ่น
  2. ครอบคลุมทั้ง เขตเมืองหลวง เขตเมือง และเขตชนบท (รวมพื้นที่ชายแดน)
  3. มีคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำ เภอ/เขต หรือคณะกรรมการอื่น ทำหน้าที่
    1. กำหนดนโยบายหรือมาตรการ แนวปฏิบัติและติดตามประเมินผล เพื่อพัฒนาการใช้ยา อย่างสมเหตุผลในชุมชน
    2. ออกแบบระบบสุขภาพของชุมชน เพื่อการใช้ยาอย่างสมเหตุผล เพื่อให้
      • สถานบริการสุขภาพทั้งรัฐและเอกชน ส่งมอบบริการที่มีคุณภาพตามมาตรฐานการให้ บริการตามแนวทางการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
      • มีระบบการดูแลเพื่อส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน ครอบครัวและบุคคล
      • มีระบบจัดการความเสี่ยง เชื่อมโยงทั้งระบบบริการสุขภาพและชุมชน รวมถึงการเฝ้าระวัง เพื่อเตือนภัย


ปัจจุบัน การใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน เป็นตัวชี้วัดเพิ่มเติมของกระทรวงสาธารณสุข ภายใต้ แผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพที่ 15 (service plan) และสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้พัฒนา แนวทางการพัฒนาระบบการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชนสำหรับการทำ งานของเจ้าหน้าที่รัฐในส่วนภูมิภาคขึ้น เพื่อพัฒนาการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน (RDU community) ให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติดังกล่าว อย่างไรก็ตามการพัฒนาระบบกลไกเพื่อให้เกิดการใช้ยาอย่างสมเหตุผลทุกระดับ ทั้งใน ส่วนกลางส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น จำ เป็นต้องมีระบบ โครงสร้างและบุคลากรรองรับ โดยเฉพาะบุคคล ที่เรียกว่า “RDU coordinator” ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญที่จะเชื่อมโยงการพัฒนาทุกระดับ เพื่อทำ ให้เกิด ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานรัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม ในการพัฒนาสู่ประเทศ ใช้ยาอย่างสมเหตุผลอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

Food And Drug Administration