Logo of NDI

การพัฒนาสู่ประเทศใช้ยาอย่างสมเหตุผล

Thailand moving towards RDU country

NDI image

ความพยายามเกือบ 5 ทศวรรษเพื่อทำ ให้เกิดการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของประชาชนกลุ่มวัยต่างๆ นับตั้งแต่กลุ่มศึกษาปัญหายา ได้ลงไปทำการศึกษาวิจัยปัญหาการใช้ยาในชุมชน ปีพ.ศ.2519 และได้ ก่อกำ เนิดนโยบายแห่งชาติด้านยาของประเทศไทยที่ผ่านมา 3 ฉบับ คือ พ.ศ.2524, พ.ศ.2536 และ พ.ศ.2554 ทั้งนี้ภายใต้การขับเคลื่อนนโยบายแห่งชาติด้านยา พ.ศ.2554 ซึ่งเป็นนโยบายที่พัฒนาโดย คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติที่แต่งตั้งตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีทำให้การดำเนินการมีความต่อเนื่องมากขึ้น


ต่อมาเดือนเมษายน พ.ศ.2557 ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นการพัฒนาการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของประเทศอย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้โครงการโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล หรือที่เรียกว่า “RDU hospital” ที่คณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ได้เริ่มดำ เนินการทดลองในโรงพยาบาลที่สนใจเข้ามานำร่องดำเนินการตามกุญแจสำคัญ 6 ประการ (PLEASE) ของRDU hospital ตามแนวทางหลัก 12 ประการขององค์การอนามัยโลกและตั้งแต่ปีพ.ศ.2560 จนถึงปัจจุบัน การใช้ยาอย่างสมเหตุผล ถูกกำหนดเป็นโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์บริการสุขภาพที่เป็นเลิศ (service excellence) ของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีด้านสาธารณสุข หรือที่เรียกว่าแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (service plan) ซึ่งการดำเนินการ RDU ภายใต้แผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ มีขอบเขตการพัฒนาในโรงพยาบาลทุกระดับ จนถึงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลหรือสถานบริการสุขภาพปฐมภูมิ และปัจจุบันอยู่ระหว่างการพัฒนาให้ครอบคลุมไปยังชุมชน


แม้ประชาชนส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 62.5 จะได้รับยาจากโรงพยาบาล แต่ก็ยังมีการใช้ยาอย่างไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม เกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะ การเกิดปัญหาการใช้ยาที่บ้านของผู้ป่วย ซึ่งพบถึงร้อยละ 40 โดยปัญหาการใช้ยาที่เกิดขึ้นที่บ้าน เป็นปัญหาที่ป้องกันได้ถึงร้อยละ 84.71 ในอดีตเมื่อเจ็บป่วยเล็กน้อย ประชาชนมักซื้อยารักษาตนเอง ถึง ร้อยละ 60-80 แต่ปัจจุบัน การไปรักษาที่สถานพยาบาลของรัฐมีเพิ่มมากขึ้น ณ ปีพ.ศ.2558 มีการซื้อยากินเองเพียง ร้อยละ 17.52 ขณะเดียวกัน ในอีกด้านหนึ่ง พบว่ามีประชาชนที่มีรายได้สูงจ่ายเงิน เพื่อบริโภคยาบำรุงและอาหารเสริมเพิ่มขึ้น เมื่อประชาชนไปรับการรักษาทีสถานพยาบาลของรัฐมากขึ้น ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ไม่ต้องเสียเงินค่ายา ทำให้เกิดปัญหายาเหลือใช้ซึ่งพบว่า ครัวเรือนมียา ปฏิชีวนะเหลือใช้ถึงร้อยละ 10 นอกจากนี้ร้อยละ 50 ของร้านชำ ส่วนใหญ่พบขายยาบรรจุเสร็จฯ และยาสามัญประจำ บ้าน รองลงมาจำ หน่ยยาปฏิชีวนะ พบผู้ป่วยเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาจากร้านชำถึงร้อยละ 18-24 หากประเทศไทยมีกลไกเชิงระบบที่มีประสิทธิภาพ ในการจัดการปัญหาการใช้ยาที่สามารถป้องกันได้จำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาการใช้ยาที่บ้านน่าจะลดลงได้ 12 ล้านคนต่อปี ลดการไปโรงพยาบาลลงได้ 2.9 ล้านคนต่อปีและลดการนอนในโรงพยาบาลลงได้ 1.3 แสนคนต่อปี รวมถึงการลดการครอบครองยาเกินจำเป็นได้ถึง 2,370 บาท/คน/ปี จึงเป็นโจทย์สำคัญ ว่าทำอย่างไร จึงจะทำให้ประชาชนที่เข้าถึงยาได้แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเข้าถึงจากแหล่งใดก็ตาม สามารถใช้ยาได้อย่าง ถูกต้อง ปลอดภัย โดยเฉพาะเมื่อต้องดูแลสุขภาพตนเองเบื้องต้นเมื่อเจ็บป่วย ไม่ว่าจะอยู่ในพื้นที่ใดของ ประเทศไทย ในเขตเมืองหรือชนบท


คณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ซึ่งมีคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา) เป็นประธาน จึงได้เสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติเรื่อง การขับเคลื่อนสู่ประเทศที่ใช้ยาได้อย่างสมเหตุผล หรือที่เรียกว่า “RDU country (Rational Drug Use Country)” และคณะกรรมการฯ ในการประชุมครั้งที่ 3/2561 เมื่อธันวาคม 2561 มีมติเห็นชอบต่อ แนวทางการดำ เนินการพัฒนาสู่ประเทศใช้ยาอย่างสมเหตุผลตามที่ได้เสนอ และมอบหมายคณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ดำเนินการให้เป็นไปตามมติขณะเดียวกันเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนานโยบายอย่างกว้างขวางมากขึ้น คณะอนุกรรมการฯ ได้เสนอเรื่อง การจัดการเชิงระบบสู่ประเทศใช้ยาอย่างสมเหตุผล โดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง เป็นมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 12 พ.ศ.2562 ซึ่งมติสมัชชาสุขภาพดังกลjาว ได้ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่า ยุทธศาสตร์การพัฒนาสู่ประเทศใช้ยาอย่างสมเหตุผล มีกระบวนการพัฒนานโยบายอย่างมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง ทั้งในระดับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน และเครือข่ายสมัชชาสุขภาพจากทุกจังหวัด นอกจากนี้แนวคิด RDU country ยังได้รับการชื่นชมจากผู้เข้าร่วมประชุมในเวทีการประชุมนานาชาติที่จัดเมื่อมกราคม 2563 ได้แก่ the First International Meeting of the International Society to Improve the Use of Medicines (ISIUM) และ การประชุมนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล (PMAC side meeting) ประจำ ปี 2563 ว่าแนวคิด ประเทศใช้ยาอย่างสมเหตุผล เป็นความคิดริเริ่มที่ดีและนานาประเทศจะมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกันนี้ด้วย


คำนิยาม


ประเทศใช้ยาอย่างสมเหตุผล

หมายถึง ประเทศที่มีระบบกลไกให้เกิดการใช้ยาอย่างสมเหตุผล สอดคล้องตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก ตั้งแต่ต้นน้าํ (ผู้ผลิตยา/บริษัทยา/ หน่วยกำกับ ดูแลด้านยา) กลางนํ้า (สถานบริการสุขภาพทั้งรัฐ เอกชนทุกระดับ/ ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ) และ ปลายน้าํ (ประชาชน ครอบครัว และชุมชน) ประกอบด้วย 3 กลไกหลัก คือ การสร้างจิตสำนึกที่ดีและความตระหนักรู้ของบุคคล การบริหารจัดการที่ดี และการกำกับ ดูแลที่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ในกลไกทั้ง 3 ส่วน จะเชื่อมโยงระหว่างกัน เพื่อให้เกิดการพัฒนา และแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมทั้งยาแผนปัจจุบันและยาสมุนไพร


นโยบายประเทศใช้ยาอย่างสมเหตุผลโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง

หมายถึงการมุ่งจัดการระบบยาโดยมีชุมชน เป็นศูนย์กลาง เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยในการใช้ยา มีคุณภาพชีวิตที่ดีและสามารถ พึ่งตนเองด้านสุขภาพได้โดยสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน หน่วยงานรัฐ และเอกชน ในการ ออกแบบระบบสุขภาพชุมชน มีระบบการเฝ้าระวังเพื่อเตือนภัย มีการสร้างความรอบรู้ด้านการ ใช้ยาอย่างสมเหตุผล และมีความสามารถในการดูแลตนเองเบื้องต้นเมื่อเจ็บป่วย (เอกสาร สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 12)


การใช้ยาอย่างสมเหตุผล

หมายถึง ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ในการใช้ยาเพื่อดูแล สุขภาพตนเองเบื้องต้น ตามความจำเป็น และใช้ยาที่ได้รับจากหน่วยบริการสุขภาพได้อย่างถูกต้อง คุ้มค่า ปลอดภัย เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ทั้งในเรื่องโรค ขนาดยา วิธีใช้และ ระยะเวลาตามที่กำ หนด (เอกสารสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 12)


ยา

หมายถึง ยา (รวมถึงวัคซีน) และผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ใช้เป็นยาตามกฎหมายว่าด้วยยา กฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์สมุนไพร ตลอดจนวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และยาเสพติด ให้โทษ ที่นำ มาใช้ทางยา รวมถึงผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มุ่งหมายใช้เป็นยา (เอกสารสมัชชาสุขภาพ แห่งชาติ ครั้งที่ 12)

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

Food And Drug Administration